Search Intent คืออะไร ? มีกี่ประเภท ? สำคัญกับ SEO อย่างไร ?

Search Intent คือ

Search Intent

ถ้าต้องการทำ SEO ให้ติดอันดับ ไม่ควรมองข้ามเรื่อง Search Intent ครับ

Search Intent หรือ จุดประสงค์การค้นหาของผู้ใช้งาน มีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบมีแนวทางการเสิร์ฟ Content ต่างกัน จุดนี้เป็นเรื่องที่คนทำ SEO หลายคนมักพลาดบ่อยครับ หากแยก Search Intent ไม่เป็น ไม่รู้ว่า Keyword ที่ User ค้นหา เขามีความต้องการแบบไหน จะเสียเวลา เสียเงินทำ SEO ฟรี ๆ เลยครับ

ในบทความนี้ Opkung จะสรุปข้อมูลให้อ่านกันว่า Search Intent คืออะไร ? มีกี่แบบ ? สำคัญกับการทำ SEO อย่างไร ? มีวิธีแยก Search Intent อย่างไรบ้าง ? ติดตามอ่านกันได้เลยครับ

Search Intent คืออะไร ?

Search Intent คือ จุดประสงค์การค้นหาคำ หรือ คีย์เวิร์ด (Keyword) ต่าง ๆ จากผู้ใช้งาน

ว่า User ค้นหาคำนั้นบนเครื่องมือ Search Engine (เช่น Google) ไปเพื่ออะไร ? เช่น พิมพ์คำเพื่อค้นหาข้อมูลความรู้ เปรียบเทียบข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ ต้องการซื้อสินค้า-บริการ ฯลฯ

คลิกอ่านเพิ่มเติม : Search Engine คืออะไร ? มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง ?

การวิเคราะห์ Search Intent สำคัญแค่ไหน ?

ในมุมมอง Opkung มองว่าการวิเคราะห์ Search Intent สำคัญครับ

การทำ SEO โดยแยก Search Intent ไม่เป็น ก็เหมือนกับการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ นั่งทำ SEO จนคุณหมอสมพงษ์นัดเปลี่ยนกระดูกหลัง สุดท้ายก็ไม่เห็นผลที่ชัดเจนอยู่ดี หากเราแยก Search Intent ได้ รู้ว่าคีย์เวิร์ดนี้ ที่ User ค้นหาเขาต้องการอะไร เราจะได้ทำ Content ให้เหมาะกับความต้องการของเขา

ไม่ใช่ว่าผู้ใช้งานค้นหาคำว่า ‘ราคาทองวันนี้’ แต่ดันทำบทความ SEO พล่ามเรื่องราคาทองวันนี้แบบยาว 2,000 คำ กรณีนี้ทำให้ตายยังไงก็ไม่ติดหน้าแรก สู้เว็บไซต์ที่มีหน้าเว็บเช็กราคาทองแบบ Realtime ไม่ได้ครับ

Search Engine รู้ได้ยังไง ว่าแต่ละ Keyword มี Search Intent แบบไหน ?

ถ้าไม่ใช่คนวงเขียวที่ทำงานด้านพัฒนาระบบ เราไม่มีทางทราบได้เลยครับ ว่า Search Engine มีการแยก Search Intent ที่ชัดเจนอย่างไรกันแน่ ?

แต่ถ้าให้สรุปคร่าว ๆ คือ โปรแกรม Search Engine ทุกตัว จะมี Bot ของตัวเองครับ ที่จะเข้าไปไล่ดู (Crawling) เว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อเก็บรวบรวม Data ลงในฐานข้อมูล (Indexing) ก่อนจัดแยกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เหมือนกับการแบ่งประเภทหนังสือ

จากนั้น Machine Learning ของโปรแกรม Search Engine จะเรียนรู้ + วิเคราะห์ข้อมูลครับ ว่าแต่ละ Keyword ที่คนพิมพ์ค้นหา User ชอบเนื้อหาแนวไหน เจอแล้วอยู่หน้าเว็บนานไหม เวลาแสดงผลเว็บไซต์ในหน้า SERP ก็จะเลือกเนื้อหาที่มี Search Intent ใกล้เคียงกันมาแสดงครับ

Search Intent มีกี่ประเภท ?

เพื่อความเข้าใจง่าย Search Intent แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • Informational Search Intent
  • Navigational Search Intent
  • Commercial Search Intent
  • Transactional Search Intent

เรามาทำความเข้าใจ Search Intent ทีละประเภทแบบภาษามนุษย์กันครับ

Search Intent มีกี่ประเภท
4 ประเภท Search Intent

1.ค้นหาเพื่อหาข้อมูล (Informational Search Intent)

Informational Search Intent คือ การค้นหาเพื่อหาข้อมูลหรือคำตอบแบบสั้น ที่เน้นความรวดเร็ว Search Intent ประเภทนี้เป็นรูปแบบการค้นหาส่วนใหญ่ที่พบบน Google เลยครับ

โดยคำที่พิมพ์จะเป็นประโยคคำถาม หรือ ข้อความธรรมดาก็ได้ เช่น

  • ปริมาณเป่าแอลกอฮอล์
  • โพไซดอน เปิดกี่โมง
  • หงุดหงิดง่ายแก้ยังไง
  • ทำ IF กี่ชั่วโมง

แต่บางคำค้นหาที่กว้างเกินไป ก็ยากที่จะบอกครับ ว่าผู้ใช้งานค้นหาเพื่ออะไร เช่น คำว่า ‘รองเท้า’ คนหาอาจจะหมายถึง รองเท้าผู้ชาย รองเท้าผู้หญิง รองเท้าวิ่ง หรือคำอื่น ๆ ก็ได้

ถ้าบางคีย์เวิร์ดมี Search Intent หลายแบบ นั่นอาจหมายความว่า Google ยังไม่แน่ใจครับ ว่าคำนี้คนค้นหาต้องการอะไร จึงแสดงผลแบบต่าง ๆ ไว้ก่อน เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ต่อไปครับ นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่น ๆ ในหน้าเพิ่มด้วย เช่น คำที่เกี่ยวข้อง ภาพ วิดีโอ

2.ค้นหาเพื่อไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการ (Navigational Search Intent)

Navigational Search Intent คือ การค้นหาเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานรู้จักดีอยู่แล้ว แต่ไม่อยากพิมพ์บน Addres Bar จึงพิมพ์ค้นหาบนช่อง Google แทนซะเลย เช่น

  • Gmail Login
  • Spotify
  • พอนฮับ
  • เฉลิมกรุง พันทิป

นอกจากนี้ การค้นหาอะไรก็ตามที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น เบอร์ติดต่อ Grab หรือ บริษัทรับทำ SEO Opkung ก็ถือว่าเป็น Navigational Search Intent ครับ เพราะผลการค้นหาเจาะจงไปที่เว็บไซต์ปลายทางโดยตรง

3.ค้นหาตัวเลือกก่อนตัดสินใจ (Commercial Search Intent)

Commercial Search Intent คือ จุดประสงค์การค้นหาของ User ที่ต้องการค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ หรือใช้บริการ

ผู้ใช้งานกลุ่มนี้เค้ารู้ปัญหาที่เกิดขึ้น มีข้อมูลในใจบ้างแล้ว แค่ยังเลือกไม่ได้ว่าซื้อสิ่งนั้นดีไหม ? จึงอยากค้นหาข้อมูลเพิ่มนิดนึงเพื่อดูรีวิว เปรียบเทียบ หาสิ่งที่ดีที่สุดสักหน่อย ก่อนจ่ายเงิน

ตัวอย่าง Keyword เช่น

4.ค้นหาตัวเลือกเพื่อซื้อ / ใช้บริการ (Transactional Search Intent)

Transactional Search Intent คือ การค้นหาที่สนใจซื้อ หรือใช้บริการ ไม่ต้องการหาข้อมูลหรือเปรียบเทียบอะไรแล้ว (เพราะมี Knowledge เพียงพอ) นอกจากนี้ยังหมายถึงการทำ Action บางอย่าง เช่น การโทรติดต่อ กดติดตามอีเมล

ตัวอย่างคีย์เวิร์ดกลุ่ม Transactional เช่น

  • จอง Galaxy S25
  • ราคาเสริมหน้าอก
  • เปลี่ยนเบอร์มงคล AIS
  • เบอร์โทรสภากาชาด
  • ติดตั้งโซล่าเซลล์

ในมุมมองส่วนตัว Opkung มองว่า ยิ่งเว็บไซต์เรามีคีย์เวิร์ดแนว Transactional มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายได้มากตามไปด้วย การทำ SEO กับเรา เราจึงโฟกัสการทำคีย์เวิร์ดแนวทำเงินให้ลูกค้าก่อนครับ

How to สร้างคอนเทนต์ให้ตรงกับ Search Intent

แนวทางสร้าง Content ให้ตรงกับ Search Intent ขอแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

1.วิเคราะห์ประเภท Search Intent

ก่อนจะทำ Content ออกมา 1 เรื่อง ต้องวิเคราะห์ก่อนครับ ว่า Focus Keyword สำหรับคอนเทนต์ในหน้านั้นมี Search Intent แบบใด จาก 4 ข้อนี้

  • Informational เช่น ผักวิตามินซีสูง, กินน้ำวันละกี่ลิตร, วิธีนอน 8 ชั่วโมง ใน 3 ชั่วโมง
  • Navigational เช่น GA 4 Login, Facebook, ข่าว The Standard
  • Commercial เช่น ครีมกันแดดคนท้อง ตัวไหนดี, ร้านอาหาร One Bangkok, S25 กับ 16 Pro Max
  • Transactional เช่น เรียนทำขนม, จองตั๋วไปฮ่องกง, ติดแอร์พระราม 2

2.เช็กผลค้นหาเว็บไซต์บนหน้าแรก

นำ Focus Keyword ที่จะทำ Content ไปเช็กในหน้าแรก Google (SERP : Search Engine Result Page) เพื่อดูว่าคีย์เวิร์ดนั้นส่วนใหญ่มีประเภทเนื้อหาเป็นแบบใด

โดยประเภทของเนื้อหามีหลายแบบครับ เช่น

  • หน้าบล็อก
  • หน้า Service (Landing Page)
  • หน้าหมวดหมู่สินค้า
  • หน้าสินค้า
  • รูปภาพ
  • วิดีโอ

หากผลการค้นหาที่ติดหน้าแรกส่วนใหญ่เป็นแบบไหน ก็ให้เราทำตามรูปแบบนั้นครับ เช่น คีย์เวิร์ด “จอง Galaxy S25” ประเภทของเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นหน้า Landing Page ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับ S25 ครอบคลุม พร้อมปิดการขายบนเว็บได้เลย

สำหรับคีย์เวิร์ดนี้ หากทำประเภทคอนเทนต์เป็นบล็อก ทำยังไงก็สู้หน้าเว็บ Landing Page ไม่ได้อยู่ดี

search intent galaxy s25
ตัวอย่างการแสดงผล Search Intent แบบ Landing Page

3.วิเคราะห์เนื้อหาที่ต้องการจะทำ SEO

โดยเราจะไล่ดูเว็บไซต์ในหน้าแรก ว่าเนื้อหาที่เขาทำ มีมุมมองการนำเสนอแบบไหนครับ เช่น คีย์เวิร์ด “s25 กับ iphone 16 promax”

  • จะทำ Content แบบ Video หรือ บทความ ก็ได้ (แต่ผมเชียร์แบบวิดีโอครับ)
  • เน้นไปที่การรีวิว เปรียบเทียบ
  • มีเปรียบเทียบรายละเอียดมือถือ 2 รุ่น เช่น สเปคเครื่อง กล้อง การใช้งาน แบบเทียบหมัดต่อหมัด
  • Content นี้ สร้างมาเพื่อให้ข้อมูลเปรียบเทียบ เป็นทางเลือกซื้อมือถือรุ่นท็อป
  • มีการให้ความเห็น ว่าแต่ละรุ่นเหมาะกับใคร เหมาะกับการใช้งานแบบไหน
  • คนที่เข้ามาดูเนื้อหา มีความสนใจเรื่องกล้องถ่ายรูปด้วยมือถือ (จุดนี้ต้องขยี้ให้เยอะหน่อย)

หากทำเนื้อหาขึ้นมาโดยไม่มีประเด็นเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบคลิปวิดีโอ หรือบล็อก ทำให้ตายยังไงก็ไม่เห็นผลครับ

วิเคราะห์มุมมองเนื้อหา search intent
ดูมุมมองเนื้อหาว่ามีการนำเสนอแบบใด

4.สร้าง SEO Content แบบมี Keyword

ต่อมาก็ถึงขั้นตอนการสร้าง SEO Content สำหรับคีย์เวิร์ดที่ต้องการให้ติดอันดับครับ

โดยขั้นตอนการสร้าง SEO Content มีดังนี้

  1. ทำ Keyword Research ผ่านเครื่องมือ Keyword Research Tools ต่าง ๆ เพื่อเฟ้นหากลุ่มคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกันให้มากที่สุด
  2. วิเคราะห์ว่าผู้อ่านต้องการอะไรจากเรื่องนี้
  3. เริ่มวาง Outline หัวข้อเนื้อหาที่จะนำเสนอ พวก H2, H3
  4. ลงมือเขียนบทความ SEO โดยยึดประโยชน์ของผู้อ่านเป็นหลัก ตรงตามแนวทาง EEAT (อย่าลืมใส่ Focus Keyword, Relate Keyword, LSI Keyword, Longtail Keyword เข้าไปด้วย)

5.ปรับแต่ง SEO On-Page

ต่อให้สร้างเนื้อหาที่ตรงกับ Search Intent แค่ไหน แต่หากขาดการปรับแต่ง SEO On-Page ทำให้ตายยังไงก็ไม่เห็นผลครับ

หลังสร้าง SEO Content แล้ว อย่าลืมปรับแต่ง On-Page ด้วย เช่น

  • Heading 1, 2, 3
  • Title + Description
  • Slug
  • Alt Text
  • Keyword Density
  • Internal Link
  • External Link
  • Schema Markup

สรุปเรื่อง Search Intent

Search Intent คือ จุดประสงค์การค้นหาของ User ครับ การจะทำ SEO ให้ติดหน้าแรก จำเป็นต้องวิเคราะห์ Search Intent ให้เป็น รู้ว่าคำ ๆ นั้นที่คนพิมพ์เข้ามา ‘เขาต้องการอะไรจากการค้นหา’ จากนั้นก็ทำ Content นำเสนอเนื้อหาที่สร้างประโยชน์สูงสุดให้กับคนอ่าน

หากทำ SEO เอง หรือ เจอบริษัทรับทำ SEO ที่แยก Search Intent ไม่เป็น จนทำ Content ออกมาไม่ตอบโจทย์ เพราะสักแต่ว่าจะทำท่าเดียว กรณีนี้ทำให้ตายยังไงก็ไม่เห็นผลที่ชัดเจนครับ อย่าลืมนะครับ วิเคราะห์ Search Intent พลาด เส้นทางการทำ SEO จะเปลี่ยนไปทันที